
How to ทำบุญเข้าพรรษา ออนไลน์ แบบวิถี New Normal
เข้าช่วงเทศกาลเข้าพรรษาแบบนี้ พวกเราชาวพุทธศาสนิกชน ส่วนใหญ่ก็มักจะเตรียมตัวไปทำบุญกันถ้วนหน้า แต่สำหรับใครที่ติดภารกิจ หรือไม่สามารถที่จะไปทำกิจกรรมทางศาสนาได้ วันนี้เว็บไซต์เลขสนุก ก็มีวิธีการ ทำบุญเข้าพรรษา ออนไลน์ ตามวิถี New Normal มาแชร์กันด้วย เรียกว่าอยู่ที่ไหน ก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการทำบุญร่วมกันได้ค่ะ
🕯 How to ทำบุญเข้าพรรษา ออนไลน์ 🕯
>> วิธีการร่วม ทำบุญเข้าพรรษา ออนไลน์ ทำได้ดังนี้ 🕯
- ก่อนอื่นเข้าไปที่ www.เข้าพรรษาออนไลน์.com
- กดเลือกช่องทางการเข้าสู่ระบบของท่าน
- กดเริ่มเพื่อเข้าสู่การเข้าพรรษาออนไลน์
- กดเลือกคาแรกเตอร์ของตัวท่านเอง
- สามารถอัพโหลดรูปภาพของตัวท่านเองลงในคาแรกเตอร์
- ค้นชื่อวัดที่ต้องการไปทำบุญเมื่อเลือกเสร็จแล้วให้กดยืนยัน
- กด”เริ่มสวดมนต์”
- ท่านสามารถร่วมหล่อเทียนพรรษาด้วยการกด “หล่อเทียน”
- หน้าจอของท่านจะปรากฎมงคลชีวิต 38 ประการโดยจะเป็นการสุ่มเลือกมาให้ท่าน
- ร่วมถวายเทียนจำพรรษา และผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ ด้วยการ กด “กดถวาย”
- ท่านสามารถร่วมปวารณาตน สำหรับการเข้าพรรษาในปีนี้
∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴
>> ประวัติ วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” นั่นเอง โดย วันเข้าพรรษา 2563 ตรงกับวันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม
เข้าพรรษา แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น
– ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
– ปัจฉิมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
อย่างไรก็ตาม หากมีกิจธุระ คือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในวันเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า “สัตตาหะ” หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด
สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่
1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้
3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด
4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้
∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴ ∴
สรุป ทำบุญเข้าพรรษาออนไลน์
ในช่วงวันเข้าพรรษานี้ หากใครสามารถไปร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่วัดได้ ก็แนะนำให้ทำบุญกันอย่างระมัดระวัง ในความปลอดภัยของทรัพย์สิน และสุขอนามัยด้วยค่ะ สำหรับใครที่ไม่สะดวก ก็สามารถร่วม ทำบุญเข้าพรรษา ออนไลน์ ได้ที่ www.เข้าพรรษาออนไลน์.com จากนั้นก็ทำตามขั้นตอนด้านใน ง่ายมาก ๆ ค่ะ เพียงเท่านี้ก็ได้ทำบุญเข้าพรรษาร่วมกันแล้วค่ะ
ติดตามเว็บไซต์เลขสนุก แล้วคุณจะ ไม่พลาด!
เลขเด็ด ตรวจเลขสนุก
เลขสนุกมงคล
เลขสนุกคนดัง
เลขสนุกความเชื่อ
คลิกที่นี่เลย! leksanook.com
ขอบคุณข้อมูล kapook
อ่านต่อเพิ่มเติม
- รู้หรือยัง? เลขนำโชค แต่ละราศี ราศีไหน ใช้เลขอะไรแล้วเฮง
- เคยเจอไหม? 5 ลางบอกเหตุ ตามความเชื่อโบราณ
- แชร์เก็บไว้เลย! สีเสื้อมงคล ปี 2563 สีไหนใส่แล้วปัง เสริมดวงเฮง
- รู้หรือยัง? วิธีเลือกเลขทะเบียนรถ เลือกอย่างไรให้เสริมความเป็นมงคล อ่านเลย!
- อ่านเลย! บ้านเลขที่มงคล เสริมดวงคนในบ้าน พร้อมวิธีแก้บ้านเลขที่ไม่เป็นมงคล
- แชร์เก็บไว้เลย! สีเสื้อมงคล ปี 2563 สีไหนใส่แล้วปัง เสริมดวงเฮง
- เลขศาสตร์ คืออะไร มีผลกับชีวิตประจำวันอย่างไร
- ความหมาย เลขศาสตร์ หมายเลข 1 ดูดวงทะเบียนรถ ทะเบียนบ้าน เบอร์โทรศัพท์
- เปลี่ยนก่อน เฮงก่อน! สีกระเป๋าสตางค์เสริมดวง ตามวันเกิด 2563
- รวม 5 คาถาเรียกทรัพย์ โชคลาภ กวักเงินเข้ากระเป๋ารัวๆ